วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์

Titleการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
Title AlternativeUSING GOOD GOVERNANCE PRINCIPLES BY ADMINISTRATORS IN BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI

CreatorName: เกียรติศักดิ์ ศรีสมพงษ์
Subjectkeyword: ผู้บริหารการศึกษา การบริหาร
; ผู้บริหารสถานศึกษา

DescriptionAbstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เปรียบเทียบสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จาแนกตามประสบการณ์ในการบริหารของผู้บริหาร เปรียบเทียบสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จาแนกตามระดับช่วงชั้นในการจัดการศึกษา เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี จานวน 546 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มตามระดับชั้น (stratified random sampling)ตามระดับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (rating scale) ชนิด 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ส่งไปยังผู้ตอบแบบสอบถาม จานวน 546 ฉบับ ได้รับคืน 543 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 99.45 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test 6 ผลการวิจัย 1. สภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีโดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีที่มีประสบการณ์ในการบริหารของผู้บริหารแตกต่างกัน พบว่า ในภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีประสบการณ์ในการบริหาร ตั้งแต่ 1-10 ปี และผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป มีสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่กาหนดไว้ แต่มีด้านที่แตกต่างกัน 1 ด้าน คือ ด้านหลักคุณธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ที่จัดการศึกษาในระดับช่วงชั้นแตกต่างกัน พบว่า ในภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดการศึกษาในระดับช่วงชั้นที่ 1-2 และ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาในระดับช่วงชั้นที่ 3-4 มีสภาพการการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กาหนดไว้ 4. ปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ที่ได้จากคาถามปลายเปิด พบว่า ด้านที่มีจานวนความถี่ของปัญหา 3 ลาดับแรก คือ ด้านความโปร่งใส ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักการมีส่วนร่วม โดยครูได้เสนอแนวทางแก้ไขด้านหลักความโปร่งใสมากที่สุด รองลงมาคือด้านนิติธรรม ซึ่งปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเฉลี่ยที่ได้จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามแบบประมาณค่า
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
ContributorName: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
DateIssued: 2548
Modified: 2554-08-26
Issued: 2554-08-26
Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Formatapplication/pdf
Language tha
ThesisDegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Level: ปริญญาโท

Descipline: การบริหารการศึกษา
Rights©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี



Title
แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาลตามการรับรู้ของพนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
Title Alternative
DEVELOPMENT GUIDELINE FOR GOOD GOVERNANCE MANAGEMENT BY PERCEPTION OF OFFICERS IN TACHANG LOCAL ADMINISTRATION ORGANIZATION, SINGBURI PROVINCE

Address: ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Description
Abstract: บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของพนักงานด้านการบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี และเพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอ ท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมประมวลผลข้อมูลทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้ของพนักงานด้านการบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาล ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักนิติธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม และได้จัดทำแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยกำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาด้านหลักการมีส่วนร่วม 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการวางแผน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการทำงานและพัฒนางาน 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงาน
Publisher
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
Role: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
Date
Created: 2552
Modified: 2552-12-21
Issued: 2552-12-21
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/octet-stream
Identifier
Source
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา



Title
การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด
Title Alternative
A Study of the administrators and teachers to opinions towards the good governance management in schools under the office of Trat Educational Service Area

Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 130 คน ครู จำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ดังนี้ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความคุ้มค่า 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู ต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract: The purposes of this research were to study and compare the opinion between the administrators and teachers toward the good governance management in school under the Office Trat Educational Service Area by position and size of School. Samples consisted of 313 for 130 school administrators and 183 teachers in the schools. The research instrument was a rating scale questionnaire. Collected data were analyzed to find percentage, mean scores, standard deviations and compare by t-test and One - way ANOVA. The results of the study were as follows : 1) The opinions between the administrators and teachers to the good governance management in school under the Office of Trat Educational Service Area was total at a high level. The order of mean scores from the highest was principles of a transparency, accountability and economy 2) A comparison of opinions between the administrators and teachers were significantly different at level .01 3) A comparison of opinion between the administrators and teachers to good governance management in school under the Office Trat Educational Service Area by and size of school the whole was significantly different at a level .01. When comparing between the small-sized school, the medium-schools and between small-sized the large-schools was significantly different at a level .05 and the medium-schools the large-schools was not significantly different.
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: จันทบุรี
Email: library@rbru.ac.th
Role: ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Role: กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Date
Created: 2553
Modified: 2554-07-01
Issued: 2554-07-01
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์

Titleการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี Title AlternativeUSING GOOD GOVE...